- พ่อท่านวัดย่านยาว
- กำหนดการกิืนผักตะกั่วป่า
- กินเจที่ตะกั่วป่า
- คลองสังเหน่ (Little Amazon)
- งานถนนสายวัฒนธรรม ครั้งที่ 4
- จองตั๋วรถทัวร์กลับตะกั่วป่าผ่านอินเตอร์เน็ต
- ตลาดริมน้ำวันเสาร์
- ตักบาตรปีใหม่ 2554
- ตักบาตรพระ 1,000 รูป [PIC]
- ตักบาตรเทโว
- ตารางเดินรถตะกั่วป่า
- ตึกขุนอินทร์
- ถนนสายวัฒนธรรม
- ถนนสายวัฒนธรรมเปิดตอนรับฤดูกาลท่องเที่ยง Nov2010-Apl2011
- ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า
- น้ำพุร้อนตำบลรมณีย์
- บ้านน้ำเค็ม
- บ้านบางพัฒน์
- ประวัติความเป็นมาของ ขนมเต้าส้อ
- พังงาน่ากอด 54
- มุมที่ไม่คุ้นตา
- ร้านหลกอั้น
- สงกรานต์ ปี 54
- สายใต้ใหม่ๆ - ตะกั่วป่า
- หาดบางสัก
- อีกมุมในงานกินเจ 2009
- อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
- อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
- เที่ยวงานวัดย่านยาว 54
- เที่ยวเมืองไทยใน 1 นาที ตอน ตะกั่วป่า
- แผนที่ตะกั่วป่า
- โรงเรียนเต้าหมิง
May
12
Submitted by Aj.Wimon on Tue, 05/12/2009 - 00:46
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา เมืองตะโกลา ได้พัฒนาเป็นเมืองท่าจอดเรือที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันตก เป็นที่รู้จักกันดีของบรรดาชาติต่าง ๆ หลายชาติ เช่น อินเดีย จีน เปอร์เชีย อาหรับ รวมทั้งกรีกและโรมันในทวีปยุโรป ชาติเหล่านี้ได้เข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน และเป็นสถานที่จอดแวะพักเรือเพื่อเติมเสบียงอาหารและซ่อมแซมเรือรวมทั้งรอลมมรสุมเพื่อการเดินทางต่อไป จากการสำรวจขุดค้น แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกและปลายคลองเหมืองทอง ของกรมศิลปากร และนักโบราณคดีหลายท่าน พบหลักฐานสำคัญในท้องที่ที่สามารถอธิบายได้ว่า เมืองตะโกลา เป็นเมืองท่าที่อยู่ในเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ ที่เชื่อมระบบการค้าของโลกระหว่างดินแดนตะวันตกและดินแดนทางตะวันออกเข้าด้วยกันและถือเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลก็ว่าได้ เช่น พบภาชนะดินเผาที่เก่าแก่ของจีน สมัยหกราชวงศ์อายุประมาณ พ.ศ. 763 เครื่องแก้วและภาชนะดินเผาของเปอร์เชีย ลูกปัดชนิดต่าง ๆ หลาบแบบ หลายขนาดและจากหลายแหล่ง
นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางลัดข้ามคาบสมุทรติดต่อระหว่างฝั่งทะเลตะวันตกและฝั่งทะเลตะวันออก เนื่องจากในสมัยโบราณเรือที่อาศัยแรงลมไม่สามารถดินทางอ้อมแหลมมลายูได้ เพราะบริเวณตั้งแต่แลตติจูด 5 องศา ลงไปนั้นเป็นเขตสงบลม (Doldrum) มีการพบหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญ ๆ หลายอย่างที่สามารถอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรมลายูตลอดเส้นทางสายนี้ เช่น พระเหนอ (พระนารายณ์) ที่เขาพระเหนอ ใกล้ปากแม่น้ำตะกั่วป่า พระนารายณ์และเทพบริวาร ที่เขาพระนารายณ์ (อยู่ตรงคลองเหลกับคลองรมณีย์พบกัน) อยู่ในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา โบราณวัตถุบริเวณบ้านท่าหันเชิงเขาสกในอำเภอกะปง พระนารายณ์ที่เขาศรีวิชัยในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
ตะโกลา คงจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 – 8 ระยะหนึ่ง จากนั้นอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ขยายอำนาจลงมาปกครองคาบสมุทรมลายูไว้ทั้งหมด จนกระทั่งอาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 11 เมืองต่าง ๆ ในบริเวณคาบสมุทรมลายูจึงมีอิสระขึ้นอีก ปรากฏเมืองและแว่นแคว้นต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง เช่น ไชยา ตามพรลิงค์ สะทิงพระ ปัตตานี รวมทั้งแคว้นอื่น ๆ ตลอดแหลมมลายู ลงไปจนถึงหมู่เกาะ สำหรับเมืองตะโกลาในช่วงนี้ มีกล่าวในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชที่น่าสนใจอยู่ 2 ฉบับ คือฉบับที่พระเสนานุชิตพบที่บ้านทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และฉบับที่พระพิไชยเดชะพบที่วัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อความบางตอนคล้ายคลึงกันว่า “…ผู้สร้างเมืองตะกั่วป่าเป็นพราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ พระยาศรีธรรมโศกราช (นามเดิมว่า พราหมณ์มาลี) มีอนุชาชื่อพราหมณ์มาลา เป็นที่อุปราช อพยพลงเรือมาขึ้นที่บ้านทุ่งตึก เมื่อพุทธศักราช 1006 สร้างเมืองตะกั่วป่าขึ้น แต่ยังไม่ทันเสร็จ…ก็ถูกข้าศึกรุกรานตีแตก ต้องอพยพหนีข้ามเขาสก…” ส่วนประวัติวัดเวียงสระกล่าวไว้คล้ายกัน แต่จุดมุ่งหมายของคณะพราหมณ์อินเดียกลุ่มนี้มีเป้าหมายตามหาพระบรมธาตุ ตามที่ระบุไว้ในตำนานลังกา ความว่า “…มีชาวอินเดียนำไพร่พลประมาณ 30,000 คน โดยพราหมณ์โมลีผู้พี่ และพราหมณ์มาลาผู้น้อง มาพร้อมด้วยอาจารย์ 2 ท่านคือ พระพุทธคัมเภียร และพระพุทธสาคร…มาสู่ตอนใต้ของประเทศไทย เพื่อค้นหาพระบรมธาตุ ซึ่งตามคัมภีร์ลังกาบอกว่า อยู่ที่หาดทรายแก้ว เดินทางมาขึ้นบกที่ตะโกลา…และได้ล่องลงมาตามลำน้ำตะกั่วป่า มาตั้งเมืองที่บ้านน้ำรอบ ริมคลองพุมดวง…”
- Login to post comments
No comments